9 กระบวนการคิด (Thinking) จำเป็นต้องใช้ และ รู้

9 กระบวนการคิด (Thinking) จำเป็นต้องใช้ และ รู้

กระบวนการคิด คือ (Thinking process) หนึ่งในกลไกของการทำงานของสมองที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติของมนุษย์ โดยผ่านการ จำแนก วิเคราะห์ แยกแยะ และประมวลผลออกมาเป็นข้อมูลหนึ่งโดยจะเป็นบทสรุปที่ต้องการ หรือที่เราเรียกว่าการหาคำตอบ โดยกระบวนการคิดนี้จะถูกนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันหรือการกระทำต่าง ๆ ของมนุษย์ ซึ่งตามปกติแล้วมนุษย์นั้นจะเป็นสิ่งมีชีวิตที่จะมีกาคิดอยู่ตลอดเวลา กระบวนการคิดจึงเป็นสิ่งที่ใช้ในการนำมาสร้างเป็นความคิดรวบยอด การจัดกลุ่มหรือจัดฐานข้อมูล และการกำหนดชื่อหัวข้อของข้อมูลที่สนใจ

นอกจากนี้ กระบวนการคิด ยังใช้ในการแปลความหมายของข้อมูล การจำแนกแยกแยะรายละเอียดต่าง ๆ ตลอดจนถึงการอ้างอิงสรุปและการกล่าวถึง โดยจะนำเอาความสัมพันธ์ในเรื่องของความเชื่อมโยงของข้อมูลมาทำการจัดวางเรียบเรียงผ่านระบบกลไกของสมองเพื่อประมวลผลออกมาให้สามารถรับรู้ได้ โดยสิ่งที่นำมาประกอบการคิดนั้นอาจเป็นสิ่งที่มีหรือไม่มีอยู่จริง ๆ หรือเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามจินตนาการโดยผ่านการคิด โดยได้รับปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมรอบข้างรวมถึงประสบการณ์ในการใช้ชีวิตของมนุษย์มาเป็นเหตุผลประกอบก็ได้

กระบวนการคิด มีอะไรบ้าง

หลังจากที่เราได้ทความรู้จักความหมายของกระบวนการคิดว่าคืออะไรกันไปแล้ว ก็จะพาทุกท่านมารู้จักกระบวนการคิดให้มากขึ้นด้วยการรู้จักกับกระบวนการคิดทั้ง 9 กระบวนการ ที่เกี่ยวข้องกับทักษะในการคิดอย่างมีเหตุผล ดังนี้

1. Design Thinking

Design Thinking‘ คือ (กระบวนการคิดเชิงออกแบบ) เพื่อนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งคำว่า Design Thinking นี้ เป็นคำที่หลาย ๆ คน มักจะเข้าใจผิดอยู่บ่อย ๆ ค่ะ เพราะแท้จริงแล้วความหมายของคำนี้นั้นไม่ได้มีจุดริเริ่มมาจากผู้พัฒนาหรือผลิตซอฟต์แวร์ดัง ๆ ที่มีชื่อเสียงและประสบความสำเร็จในปัจจุบัน อย่าง Google , Apple และอื่น ๆ แต่ความเป็นจริงแล้วคำนี้เป็นคำที่มีมาอย่างยาวนานโดยที่เราเองก็อาจจะยังไม่รู้ว่ามีคำคำนี้อยู่ด้วยซ้ำไป โดยการที่จะเป็น Design Thinking ได้นั้น คุณจะต้องมีคุณสมบัติ 3 ประการนี้ คือ

  • อยากรู้อยากเห็น

ความอยากรู้อยากเห็นเป็นจุดเริ่มต้นที่จะทำให้เกิดกระบวนการ Design Thinking เลยค่ะ เพราะเราจะสังเกตได้ว่าคนที่ชื่นชอบในการตั้งคำถามนั้นแสดงว่าสมองของเขามีการใช้กระบวนการคิดอยู่ตลอดเวลา ซึ่งในเรื่องของความอยากรู้อยากเห็นนี้ก็จะมีคนอยู่ 2 ประเภท คือ อยากรู้จริง ๆ และอยากรู้เพราะแค่อยากรู้ ซึ่งในคนกลุ่มแรกนี่แหละค่ะที่จะทำให้กระบวนการ Design Thinking สามารถประสบความสำเร็จได้จริง

  • มีความสนใจ

การมีความสนใจ ในที่นี้หมายถึงการสนใจในสิ่งนี้และอยากทำให้เกิดอีกสิ่งหนึ่งขึ้นมาถึงแม้ว่าคนรอบข้างจะมองว่าสิ่งเหล่านั้นมีความไร้สาระและไม่สามารถที่จะกลั่นกรองออกมาเป็นความจริงได้เลย อย่างเช่น ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งหากมองย้อนกลับไปในสมัยก่อนคุณจะกล้าโอนเงินให้ใครโดยที่ไม่เห็นของหรือไม่ แน่นอนว่าไม่และคุณก็อาจมองว่ามันเป็นความคิดที่บ้ามาก ๆ แต่ในปัจจุบันมันกลายเป็นธุรกิจของโลกไปเสียแล้วนั่นเอง

  • พร้อมหาคำตอบ และ ลงมือทำ

เมื่อมีความอยากเห็นและมีความสนใจที่อยากจะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมาแล้ว ก็จะเข้าสู่การค้นหาคำตอบและการลงมือทำ ในสิ่งที่คนเชื่อว่ามันไม่สามารถเกิดขึ้นได้ และเมื่อคุณเป็นคนที่ทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นได้แล้วก็จะเท่ากับว่าคุณสามารถนำกระบวนการคิดแบบ Design Thinking มาใช้ได้อย่างถูกต้องและถูกวิธีแล้ว ทุกท่านสามารถอ่านบทความฉบับเต็มได้ทาง : Design Thinking คืออะไร ? กระบวนการคิดเชิงออกแบบ


2. Critical Thinking

Critical Thinking‘ (กระบวนการคิดเชิงวิพากษ์) คือ ผู้ที่สามารถแยกแยะเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง สามารถจัดการกับอารมณ์ของตัวเองได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น ซึ่งจะสังเกตได้จากเวลาที่คนเราคิดอะไรแล้วนั้นจำเป็นต้องคิดทั้งสองด้านนั่นก็คือสิ่งที่ถูกต้องและสิ่งที่ไม่ถูกต้อง โดยไม่ได้คิดถึงความถูกต้องหรือความไม่ถูกต้องเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่จำเป็นที่จะต้องคิดไปพร้อม ๆ กันทั้งสองด้านจึงจะสมกับเป็น Critical Thinking และจะต้องไม่นำตัวเองเข้าไปเป็นศูนย์กลาง

โดยทักษะทางความคิดแบบนี้เป็นสิ่งที่ทุกคนจะต้องมี โดยเฉพาะพ่อแม่ คุณครู หรือจะเป็นนักธุรกิจต่าง ๆ ก็จำเป็นที่จะต้องมีการนำเอา Critical Thinking นี้ไปปรับใช้ด้วยเช่นกัน ซึ่งการที่นำเอากระบวนการคิดนี้ไปใช้นั้นจะทำให้คุณเกิดความคิดวิเคราะห์ที่มีเหตุผลได้มากขึ้น เกิดการรับฟังและการไตร่ตรองอย่างรอบคอบ ทำให้สามารถตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างมีเหตุผลและเหมาะสม… ทุกท่านสามารถอ่านบทความฉบับเต็มได้ทาง : Critical thinking คืออะไร ? กระบวนการคิดเชิงวิพากษ์


3. Positive Thinking

‘Positive Thinking’ (กระบวนการคิดเชิงบวก) เป็นกระบวนการคิดที่มองในด้านที่เป็นแง่บวกมากกว่าด้านที่เป็นแง่ลบ ซึ่งส่งผลให้เกิดความสบายขึ้นในจิตใจ แต่ก็ยังมีคนเข้าใจผิดในคำนี้อีกเช่นกัน ถึงแม้ว่าคำว่า Positive Thinking จะแปลตรงตัวว่าการคิดบวกแล้ว แต่ก็ใช่ว่าสิ่งที่เป็นความคิดในแง่ลบนั้นเราจะตัดทิ้งไปนะคะ เพราะความหมายที่แท้จริงของคำนี้เลยก็คือการยอมรับในความคิดเชิงลบให้เปลี่ยนมาเป็นความคิดเชิงบวกนั่นเอง เช่น เราอาจจะคิดว่าในชีวิตของเรานั้นมีความยากลำบากจนรู้สึกว่าตัวเองด้อยค่า แต่หากเราทำใจยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้นนี้และตั้งใจที่จะทำสิ่งเหล่านี้ให้สามารถเกิดความพัฒนาและดียิ่งขึ้นได้นั้นก็เท่ากับว่าคุณเป็นคนที่มี Positive Thinking อยู่ในตัวของคุณแล้วค่ะ… ทุกท่านสามารถอ่านบทความฉบับเต็มได้ทาง : Positive Thinking คืออะไร ? คิดบวก เข้าไว้ เจออะไรก็ไม่กลัว!


4. Computational Thinking

Computational Thinking’ (กระบวนการคิดเชิงคำนวณ) ซึ่งแน่นอนค่ะว่าเมื่อเป็นความคิดเชิงคำนวณแล้วเราจะต้องนำเอาคณิตศาสตร์เข้าใช้ในกระบวนการคิดนี้ ซึ่งจะต้องอาศัย 4 ทักษะ ในการคิด คือ

  • การแยกแยะส่วนประกอบหรือปัญหา

การแยะแยะส่วนประกอบ เป็นการแยกย่อยปัญหาที่ต้องการทราบออกมาเป็นปัญหาเล็กเพื่อนำไปสู่กระบวนการคิดในขั้นต่อไป เพื่อให้ง่ายต่อการแก้ไขปัญหา

  • การจดจำรูปแบบ

การจดจำรูปแบบ คือการค้นหาความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องที่จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างมีแบบแผน

  • การคิดเชิงนามธรรม

การคิดเชิงนามธรรม เป็นการมุ่งไปในเรื่องที่ต้องการจะศึกษาหรือเรื่องที่ต้องการแก้ไข และคัดกรองส่วนที่ไม่สำคัญและไม่เกี่ยวข้องออกไปให้หมด

  • การออกแบบ Algorithm

การออกแบบ Algorithm เป็นการพัฒนาแนวทางการแก้ไขปัญหาแบบมีแบบแผนและเป็นขั้นเป็นตอน หรือการสร้างหลักเกณฑ์ที่รับกับการแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นเป็นตอนนั่นเอง

เช่น คนออกกำลังกายนั้นส่วนใหญ่จะต้องมีการควบคุมแคลเลอรีเมื่อรับประทานอาหาร ซึ่งพวกเขาจะใช้การคำนวณนั้นเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งก็จะทำให้เขาได้รู้ว่าอาหารในมื้อนั้นควรกินอะไรบ้างและควรกินอย่างไรไม่ให้เกินค่าแคลเลอรี่ที่สมควรได้รับนั่นเอง


5. Creative Thinking

Creative Thinking’ (กระบวนการคิดสร้างสรรค์) หรือการมีความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งก็หมายถึงการที่เรามีความคิดแบบนอกกรอบจากความคิดหรือแบบแผนเดิมที่มีอยู่แล้ว ซึ่งประกอบไปด้วย 4 ข้อ สำคัญที่จะทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์นั่นก็คือ

  • ความคิดคล่องแคล่ว

ความคิดคล่องแคล่ว คือ ความสามารถในการคิดตอบสนองต่อสิ่งเร้าให้ได้มากที่สุด หรือเป็นความสามารถในการคิดหาคำตอบที่มีประโยชน์และตรงประเด็นมากที่สุด

  • ความคิดยืดหยุ่น

ความคิดยืดหยุ่น คือ การที่เราสามารถพลิกสถานการณ์หรือการคิดแก้ไขปัญหาสถานการณ์เฉพาะหน้าเมื่อเกิดปัญได้เป็นอย่างดี

  • ความคิดริเริ่ม

ความคิดริเริ่ม คือ ความคิดที่แปลกใหม่และมีความแตกต่างออกไปจากความคิดที่มีอยู่แต่เดิม ซึ่งอาจเกิดจากการนำความคิดเดิมมาปรับปรุงและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นนั่นเอง

  • ความคิดละเอียดรอบคอบ

ความคิดละเอียดรอบคอบ คือ การคิดอย่างมีเหตุผล มีความละเอียด และมีความรอบคอบ ซึ่งสามารถคิดและเห็นในสิ่งที่คนอื่นนั้นมองไม่เห็นด้วยความแปลกใหม่แต่มีเหตุผลประกอบที่ดี


6. Analytical Thinking

Analytical Thinking’ คือ กระบวนการคิดเชิงวิเคราะห์ ซึ่งเป็นการที่เรานั้นมีความสามารถในการคิด วิเคราะห์ และแยกแยะองค์ประกอบของสิ่งต่าง ๆ รวมถึงปัญหาที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดีและมีเหตุผล โดยการหาปัญหาและสาเหตุที่เกิดขึ้น ซึ่งสิ่งนั้นจะต้องนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างเกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ ผ่านความเชื่อ ค่านิยม และประสบการณ์ ที่ได้สั่งสมมา


7. Logical Thinking

Logical Thinking’ คือ กระบวนการคิดเชิงตรรกะ ซึ่งความคิดในรูปแบบนี้นั้นจะเป็นการคิดแบบการเผชิญปัญหาและอุปสรรคที่จะนำพาไปสู่เป้าหมาย โดยจะเปรียบคามคิดในรูปแบบนี้เป็นการเล่นกอล์ฟค่ะ ที่ผู้เล่นนั้นจะบ่งออกเป็นสองประเภทนั่นก็คือ ผู้เล่นมืออาชีพและผู้เล่นมือสมัครเล่น โดยความแตกต่างของผู้เล่นทั้ง ประเภทนี้จะอยู่ที่การใช้ความคิดในการนำลูกไปสู่เป้าหมาย โดยจะมองว่าเลย์เอาท์ที่จะพาลูกไปนั้นมีสิ่งใดเป็นสิ่งกีดขวางหรือมีอุปสรรคใด ๆ อยู่บ้าง เมื่อคิดไตร่ตรองดีแล้วจึงทำการตีลูกออกไป แต่ผู้เล่นมือสมัครเล่นนั้นอาจจะไม่ได้คิดในส่วนตรงนี้ซึ่งก็จะทำให้เป้าหมายที่วางเอาไว้ไม่เป็นไปอย่าที่คาดหวังไว้นั่นเอง


8. Strategic Thinking

‘Strategic Thinking’ คือ กระบวนการคิดเชิงกลยุทธ์ หรือการคิดแบบมีการวางแผน ซึ่งการคิดในลักษณะนี้จะมุ่งเน้นไปที่ ‘เป้าหมาย’ เป็นสำคัญมากกว่าสิ่งใด ซึ่งเราจะพบคำนี้ได้มากในกลุ่มของการทำธุรกิจต่าง ๆ ที่มุ่งเน้นไปที่ความสำเร็จและผลกำไรเป็นสำคัญ แต่ในความเป็นจริงแล้วความคิดแบบนี้สามารถนำไปใช้ได้ในทุกสายอาชีพค่ะ โดยเฉพาะนักเรียนที่กำลังจะเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย หากคุณตั้งใจที่จะเข้าในมหาวิทยาลัยหรือในคณะที่คุณสนใจแล้ว ก็จะเริ่มเกิดทักษะการวางแผนขึ้นมาว่าควรทำอย่างไรจึงจะสามารถเข้าสู่คณะและมหาวิทยาลัยที่ใฝ่ฝันเอาไว้ได้สำเร็จ


9. Lateral Thinking

Lateral Thinking’ คือ กระบวนการคิดนอกกรอบ หรือการคิดในอีกมุมมองหนึ่งที่เราไม่เคยคิดมาก่อน ซึ่งอาจเป็นการคิดในแบบที่หลุดออกจากกรอบความคิดเดิม กฎกติกาเดิม ๆ ประเพณีหรืออะไรเดิม ๆ ที่มีมาแต่เดิม ให้เป็นความคิดรูปแบบใหม่ที่จะสามารถพัฒนาศักยภาพของเราได้ ซึ่งการคิดแบบ Lateral Thinking นี้เป็นการมองหลายมุมมองโดยเราจะสามารถสังเกตได้จาก รูปภาพภาพหนึ่งที่เราอาจมองเป็นสิ่งนี้ แต่บางคนอาจมองเป็นสิ่งนั้น ซึ่งก็จะอยู่กับการที่แต่ละคนเลือกมอง ซึ่งทำให้เราอยากลองที่จะมองในแบบอื่น ๆ ดูบ้าง และในจุดนี้นี่แหละค่ะที่ทำให้เราสามารถเอาชนะสิ่งที่เรายึดติดอยู่ก่อนหน้านี้โดยไม่รู้ตัวได้สำเร็จ

สรุประบวนการคิด

กระบวนการคิด เป็นทักษะในการคิดอย่างมีบบแผน โดยผ่านการวิเคราะห์ แยกแยะ และไตร่ตรองอย่างระเอียดรอบคอบ สามารถมองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้ดีและแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้อย่างตรงจุดอย่างถูกต้องและเหมาะสม โดยกระบวนการคิดนั้นก็จะมีอยู่ด้วยกัน 8 รูปแบบ ซึ่งจะทำให้สามารถพัฒนากระบวนการคิดที่เรามีอยู่ก่อนหน้านี้ให้ดียิ่งขึ้นได้ รวมถึงการใช้ทักษะต่าง ๆ ร่วมกับการใช้ความคิดที่จะทำให้เกิดความมีเหตุผลและมีความใหม่ ๆ ที่จะทำให้เราสามารถพัฒนาสิ่งต่าง ๆ รวมถึงตัวเราเองได้โดยสมบูรณ์

thechetter

นักเขียนที่ขยันขันแข็งและมุ่งมั่นที่จะผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพ เรียนรู้และเติบโตอยู่เสมอ เชื่อว่าเนื้อหาที่ดีสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกได้