TOWS Matrix คือ

TOWS Matrix เพิ่มขีดความสามารถให้กับองค์กรได้อย่างไร

ความสามารถในการบริหารองค์กรให้ประสบความสำเร็จ นอกจากความรู้ความสามารถของผู้บริหารและการมีทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพแล้ว เครื่องมือหรือกลยุทธ์ที่นำมาใช้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถให้กับองค์กร TOWS Matrix คือหนึ่งในหลายเครื่องมือที่ผู้บริหารนิยมนำมาใช้ในการบริหารงาน ส่วน TOWS Matrix คืออะไร สามารถเพิ่มขีดความสามารถให้กับองค์กรได้อย่างไร บทความนี้มีความรู้มาแนะนำ

TOWS Matrix คืออะไร

TOWS Matrix คือเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จาก SWOT ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ภาพแวดล้อมภายนอกและภายในขององค์กร แล้วนำข้อมูลที่ได้มาเรียบเรียงให้เห็นภาพรวมทั้งหมด ส่วน TOWS Matrix คือหลักการนำจุดแข็งหรือข้อมูลเหล่านั้นมาสร้างกลยุทธ์ทางการตลาดแล้วนำไปปฏิบัติเพื่อให้สามารถสู้กับแข่งด้านการตลาดได้ ดังนั้นก่อนที่จะเริ่มทำการวิเคราะห์ TOWS Matrix ได้นั้นจำเป็นจะต้องผ่านกระบวนการวิเคราะห์ SWOT ให้ดีเสียก่อน

การวิเคราะห์ TOWS Matrix  

การวิเคราะห์ TOWS นั้นเป็นการนำ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ที่ได้จากกระบวนการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกและภายในขององค์กร หรือ SWOT Analysis มาทำการจับคู่เข้าด้วยกัน โดยหลักๆ จะแบ่งรูปแบบการจับคู่กลยุทธ์ของ TOWS ออกเป็น 4 รูปแบบ ดังนี้

  • กลยุทธ์เชิงรุก (SO)
  • กลยุทธ์เชิงแก้ไข (WO)
  • กลยุทธ์เชิงรับ (ST)
  • กลยุทธ์เชิงป้องกัน (WT)

กลยุทธ์เชิงรุก (SO)

กลยุทธ์เชิงรุกหรือ SO Strategy เป็นกลยุทธ์ที่เกิดจากการจับคู่ระหว่างสภาพแวดล้อมภายในซึ่งเป็นจุดแข็ง และสภาพแวดล้อมภายนอกได้แก่โอกาส (SWOT) ที่ทั้ง 2 ด้านเป็นจุดแข็งและข้อได้เปรียบในธุรกิจของเรามาผสมหรือจับคู่กัน ให้ก่อเกิดเป็นกลยุทธ์ที่สามารถสร้างผลกำไรหรือคุณค่าทางการตลาดได้อย่างเห็นผล

กลยุทธ์เชิงแก้ไข (WO)

กลยุทธ์เชิงแก้ไขหรือ WO Strategy เป็นกลยุทธ์ที่เกิดจากการจับคู่ระหว่างภาพแวดล้อมภายใน ที่เป็นจุดอ่อนและสภาพแวดล้อมภายนอกได้แก่โอกาส ซึ่งเป็นใช้ประโยชน์จากโอกาสที่เป็นไปในทางบวกมาจับคู่กันเพื่อปิดจุดอ่อนจุดด้อยขององค์กร หรือช่วยแก้ปัญหาและลดจุดอ่อนขององค์กร

กลยุทธ์เชิงรับ (ST)

กลยุทธ์เชิงรับหรือ ST Strategy เป็นกลยุทธ์ที่เกิดจากการจับคู่ระหว่างสภาพแวดล้อมภายในที่เป็นจุดแข็ง (Strength) และสภาพแวดล้อมภายนอกที่เป็นปัญหาและอุปสรรค ซึ่งกลยุทธ์ที่เกิดจากการวิเคราะห์ TOWS Matrix ในข้อนี้เป็นการนำจุดแข็งข้อได้เปรียบขององค์กรมาป้องกันอุปสรรคหรือเป็นการใช้จุดแข็งเพื่อหลีกเลี่ยงอุปสรรค

กลยุทธ์เชิงป้องกัน (WT)

กลยุทธ์เชิงป้องกัน หรือ WT Strategy เป็นกลยุทธ์ที่เกิดจากการจับคู่ระหว่างสภาพแวดล้อมภายในที่เป็นจุดอ่อนและสภาพแวดล้อมภายนอกที่เป็นปัญหาอุปสรรคขององค์กร กลยุทธ์ที่ได้จากการวิเคราะห์ TOWS Matrix ในข้อนี้เป็นการลดจุดอ่อนและหลีกเลี่ยงภัยคุกคามโดยมีเป้าหมายหลักคือการป้องกันหรือหลีกเลี่ยงให้สถานการณ์ขององค์กรนั้นไม่แย่ไปกว่าที่เป็นอยู่

ตัวอย่าง TOWS Matrix

กลยุทธ์เชิงรุก (SO Strategy)

เป็นกลยุทธ์ที่สามารถสร้างผลกำไรหรือคุณค่าทางการตลาดได้อย่างเห็นผล ถือเป็นกลยุทธ์เชิงรุกสาหรับองค์กร ตัวอย่าง เช่น การปรับรูปแบบของสินค้าที่ได้รับความนิยมอยู่แล้วให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภค หรือ การประชาสัมพันธ์ PR กิจกรรมต่าง ๆ ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย เพื่อให้สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายมากขึ้น

กลยุทธ์เชิงแก้ไข (WO Strategy)

เป็นการใช้ประโยชน์จากโอกาสที่เป็นไปในทางบวกมาจับคู่กับสภาพแวดล้อมภายในที่เป็นจุดแข็ง เพื่อปิดจุดอ่อนจุดด้อยขององค์กร หรือช่วยแก้ปัญหาและลดจุดอ่อนขององค์กร ตัวอย่าง เช่น การแสวงหาคู่ค้าหรือแหล่งต้นทุนวัตถุดิบที่มีราคาถูกลงเพื่อลดต้นทุน หรือ มีการพัฒนาหรือนำความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมาปรับใช้ในองค์กร เพื่อทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงข้อมูลและเชื่อมต่อถึงกันได้ง่ายยิ่งขึ้น

กลยุทธ์เชิงรับ (ST Strategy)

เป็นการนำจุดแข็งข้อได้เปรียบขององค์กรมากำหนดเป็นกลยุทธ์เพื่อใช้ป้องกันอุปสรรค หรือเป็นการใช้จุดแข็งเพื่อหลีกเลี่ยงอุปสรรค ตัวอย่าง เช่น การผลิตสินค้าหรือออกแบบผลิตภัณฑ์ของบริษัทให้มีความหลากหลาย เพื่อตอบสนองความต้องการการใช้งานที่แตกต่างกัน หรือ เมื่อผลิตสินค้าตัวใหม่เพิ่มมา เพื่อเป็นการตั้งรับปัญหาจากคู่แข่งด้านการตลาด แทนที่จะไปสร้างช่องทางใหม่ในการจัดจำหน่ายและต้องไปต่อสู้กับคู่แข่งในหลายๆ ด้าน แต่ปรับเปลี่ยนนำมาขายผ่านช่องทางเดิมที่มีคนติดตามอยู่แล้วดีกว่า

กลยุทธ์เชิงป้องกัน (WT Strategy)

เป็นกลยุทธ์ที่มีเป้าหมายหลักการป้องกันหรือหลีกเลี่ยงภัยคุกคาม และทำให้สถานการณ์ขององค์กรนั้นไม่แย่ไปกว่าที่เป็นอยู่ ตัวอย่าง เช่น การจัดกิจกรรมส่งเสริมทางการตลาด จัดโปรโมชั้น หรือช่วงวิกฤตของโรคระบาดอาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจบริการ เช่น โรงแรมหรือที่พัก อาจปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการที่พักโดยนำจุดแข็งด้านอาหารและเครื่องดื่มมาสร้างรายได้ในลักษณะบริการเดลิเวอร์รี่ทดแทนในช่วงวิกฤต ซึ่งนอกจากประคับประคองสถานการณ์ขององค์กรไม่ให้แย่ไปกว่าที่เป็นอยู่ ยังเป็นการสร้างงานสร้างรายได้ให้กับพนักงานและบุคลากรที่มีอยู่อีกด้วย

สรุปการนำ TOWS Matrix มาเป็นเครื่องมือในการบริหารธุรกิจหรือบริหารองค์กร มีข้อดีคือสามารถกำหนดกลยุทธ์ที่ถูกต้องและเหมาะสมในรูปแบบที่สอดคล้องกับทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมตามสถานการณ์ได้อย่างดีและถูกต้องมากยิ่งขึ้น เพราะการวิเคราะห์ SWOT ทำให้เรารู้ว่าองค์กรมีข้อดีข้อเสีย ข้อได้เปรียบเสียเปรียบในสภาวะธุรกิจอย่างไร เมื่อนำ TOWS Matrix มาทำการจับคู่เข้าด้วยกันกับกลยุทธ์ทั้ง 4 รูปแบบเป็นการกำหนดแนวทางได้ชัดเจนว่าจะให้องค์กรดำเนินงานไปในทิศทางใด