ในยุคที่ข้อมูลท่วมท้น (overinformation) จะหันไปมองทางไหนก็มีแต่ผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตโดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้งานอินเตอร์เน็ตด้วยโทรศัพท์มือถือ (smart phone) จากรายงานสถิติการใช้ ICT ของประชาชนในประเทศไทย ปี 2565 เฉพาะช่วงไตรมาส 1 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติได้รายงานเอาไว้ว่าร้อยละ 96.6 ของ 24.7 ล้านครัวเรือนนั้นมีโทรศัพท์มือถือใช้งาน 23.9 ล้านครัวเรือน จากสถิติที่กล่าวมาจึงเป็นข้อพิสูจน์ให้เห็นอย่างชัดเจนว่าอินเตอร์เน็ต และวายฟาย (WIFI) นั้นมีความสำคัญมากต่อผู้ใช้งานเพียงใด
ทำความรู้จักสักนิดว่า WIFI คืออะไร
หลังจากนี้ผมจะใช้คำว่า ‘WIFI’ แทนคำว่า ‘วายฟาย’ หากจะอธิบายให้เห็นภาพจริงๆ WIFI หมายถึงการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตโดยใช้ช่องทางไร้สาย เช่น คลื่นวิทยุ (radio frequency) คลื่นไมโครเวฟ (microwave frequency) บลูทูธ (Bluetooth) หรือแม้กระทั่งอินฟาเรด (infared) ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นนั้นล้วนเป็นเทคโนโลยีที่อยู่ในหมวดหมู่ของ WIFI ทั้งสิ้น
แต่จริงแล้วคำว่า WIFI นั้นเป็นเครื่องหมายการค้าของ WIFI Alliance ซึ่งเป็นหน่วยงานที่กำหนดมาตรฐานเครือข่ายไร้สายอย่าง WIFI เอาไว้ โดยใช้ชื่อมาตรฐานว่า 802.11 หากเรามองไปข้างกล่องผลิตภัณฑ์จะเห็นได้ว่าจะมีข้อความเขียนเอาไว้คือ 802.11a 802.11ac หรือ 802.11ax ที่กล่าวมานั้นเป็นมาตรฐานของเครือข่ายไร้สาย WIFI ที่ใช้คลื่นวิทยุ (radio frequency) เป็นแกนหลักในการรับส่งข้อมูล
แต่นอกจากนี้แล้วยังมีการใช้งาน WIFI ในรูปแบบอื่นๆ เช่น อุปกรณ์เกมมิ่ง คีย์บอร์ด และหูฟังก็ใช้เทคโนโลยีบลูทูธ (Bluetooth) ในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ก็ถือว่าเป็นเทคโนโลยี WIFI เช่นกัน เพราะฉะนั้นจึงสรุปได้ว่า WIFI ก็คือเครือข่ายไร้สายนั่นเองครับ
แล้ว SSID WIFI คืออะไร
สำหรับคำว่า SSID นั้นย่อมาจาก Service Set IDentifier หากจะพูดในแบบภาษาคนทั่วไปแล้ว มันคือชื่อของ WIFI ที่เราใช้ในการเชื่อมโยงเข้าระบบ WIFI โดยทั่วไปแล้วเราพบ SSID ได้ในทันทีที่เปิดการใช้งาน WIFI บนอุปกรณ์พกพาสามารถแบ่งตามวิธีการค้นหาออกเป็น 2 วิธีด้วยกัน คือ
1. Active scan
การ Active scan หมายถึง การที่เครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์พกพานั้นทำการสแกนเพื่อค้นหา WIFI เพื่อเลือกอุปกรณ์กระจายสัญญาณที่เหมาะสมสำหรับการเชื่อมต่อ
2. Passive scan
โดยปกติแล้วอุปกรณ์พกพาจะได้รับข้อมูลมาจาก Beacon frame ซึ่งเจ้าตัวนี้แหละครับจะบรรจุข้อมูลเอาไว้หลายอย่างทั้ง SSID ความเร็วในการรับส่งข้อมูลในขณะนั้น การเข้ารหัสข้อมูล มาตรฐาน WIFI รวมไปถึงความเข้ากันได้กับอุปกรณ์ที่จะเชื่อมโยงเข้าเครือข่ายไร้สาย
Pocket WIFI เพื่อนร่วมทางคู่ใจไร้สาย
ด้วยความที่อุปกรณ์พกและคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ้คนั้นได้รับความนิยมอย่างสูง และความนิยมนี้ทำให้เกิดความต้องการใช้ WIFI นอกสถานที่ขึ้นจึงเกิดเป็นอุปกรณ์ที่ชื่อว่า POCKET WIFI โดยอุปกรณ์นี้จะทำหน้าที่ในการรับสัญญาณอินเตอร์เน็ตโดยอาศัยซิมการ์ด (SIM Card) แล้วปล่อยสัญญาณ WIFI โดยเครื่องที่สามารถเชื่อมต่อได้อยู่ประมาณ 5 – 10 เครื่อง
ส่งท้ายด้วย USB WIFI
สำหรับเครื่องพิวเตอร์บางเครื่อง หรือบางรุ่นที่ไม่มีอุปกรณในการเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบ WIFI ก็จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า USB WIFI ใช้สำหรับเชื่อมต่อ WIFI หรือทำให้เครื่องพิวเตอร์นั้นสามารถเชื่อมต่อ WIFI ได้ หากเราค้นหาในเว็บไซต์ขายของแล้วจะพบทั้งแบบมีเสา และแบบไม่มีเสา หรือแบบใช้ย่านความถี่ 2.4 GHz และ 5 GHz อันนี้ผู้อ่านต้องเลือกให้ดี แต่โดยส่วนใหญ่แล้วเพียงแค่เสียบเข้าช่อง USB แล้วก็สามารถใช้งานได้เปรียบเสมือนว่าเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นเป็นมือถือหรือแทบเลตเลยครับ