Market share คือ

Market Share คืออะไร ? กลยุทธ์เพิ่มยอดขาย สร้างการเติบโตให้กับองค์กร

สำหรับการบริหารธุรกิจ ทุกการเติมโตขององค์กรเกิดขึ้นได้จากหลายองค์ประกอบ คุณภาพของสินค้าและการบริหารรวมไปถึงทักษะความรู้ความสามารถของผู้บริหาร ถือเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่มีความสำคัญ แต่สิ่งที่จะทำให้สามารถสู้กับคู่แข่งด้านการตลาดและสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจได้ก็คือ กลยุทธ์ต่าง ๆ ที่นำมาใช้ และ Market Share เป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่น่าสนใจ

Market share คืออะไร

คำว่า Market Share หากแปลตรงตัว ความหมายที่ได้ก็จะหมายถึง “ส่วนแบ่งการตลาด” ซึ่งเป็นตัวเลขที่ใช้บอกสัดส่วนยอดขายผลิตภัณฑ์ของแบรนด์หนึ่ง ๆ เมื่อเทียบกับยอดขายสินค้าประเภทเดียวกันกับทุกแบรนด์รวมกัน การนำ Market share มาใช้เป็นองค์ประกอบในการบริหารธุรกิจ จึงเปรียบเสมือนกลยุทธ์ด้านการตลาดที่จะทำให้แบรนด์รับรู้ว่ามีคู่แข่งด้านการตลาดมากน้อยเพียงใด และควรพัฒนาปรับปรุงหรือบริหารด้านการตลาดไปในทิศทางใด เพื่อให้สามารถสู้กับคู่แข่งหรือแบ่งยอดขายสินค้าและบริการมาจากคู่แข่งได้บ้าง

Market share สำคัญอย่างไร

ความสำคัญ Market share ก็คือทำให้องค์กรหรือแบรนด์ธุรกิจทราบว่า ขนาดของตลาดใหญ่พอที่จะทำกำไรให้ธุรกิจมากน้อยเพียงใด นอกจากนี้ขนาดตลาด (Market Size) ยังเป็นตัวกำหนดรายได้ ความได้เปรียบในการแข่งขัน กลยุทธ์ทางธุรกิจ และแนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภค ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนแต่ส่งผลต่อการเติบโตของธุรกิจทั้งสิ้น

ความสำเร็จขององค์กรธุรกิจ ที่จะสามารถสร้างการเติบโตให้กับองค์กรก็คือ เมื่อคู่แข่งทางการตลาดมีมากถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่คู่แข่งจะเข้ามาแย่ง Market Share ของเราได้ นั่นหมายความว่า ธุรกิจมีโอกาสที่ยอดขายจะลดลง เพราะกลุ่มเป้าหมายอาจไปใช้บริการคู่แข่งของเราแทน ดังนั้นการรับรู้ส่วนแบ่งด้านการตลาด เราจำเป็นต้องดึงลูกค้ากลับมาใช้บริการให้ได้มากที่สุด เพื่อที่จะได้ถือครอง Market Share ที่มากขึ้นนั่นเอง

ประโยชน์ของการรับรู้ส่วนแบ่งการตลาด (Market share)

การบริหารธุรกิจให้ก้าวไปสู่ความสำเร็จหรือสามารถสร้างการเติบโตให้กับแบรนด์และองค์กรธุรกิจได้นั้นมีความแตกต่างกันกันไป ขึ้นอยู่กับวิธีการที่เหมาะสมกับประเภทของธุรกิจ แต่สิ่งหนึ่งที่จะต้องมีความรู้ก่อนการลงทุนก็คือ จะต้องรู้ข้อมูลทางการตลาดที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์ธุรกิจของเรา ประโยชน์ของการรับรู้ Market share หรือส่วนแบ่งการตลาด มีดังนี้

  1. การรับรู้ Market share หรือส่วนแบ่งการตลาด ทำให้นักตลาดสามารถศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับตลาดเป้าหมายได้อย่างได้อย่างลึกซึ้งมากขึ้น ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจถึงความต้องการของผู้บริโภคหรือผู้ใช้และตามเป้าหมาย ในแต่ละส่วน นำมากำหนดแนวทางในการผสมผสานกิจกรรมของการตลาด ให้สอดคล้องกับลักษณะความต้องการของ เป้าหมาย
  2. ประโยชน์ของการรับรู้ Market share ทำให้นักการตลาดมีความรู้ความเข้าใจลักษณะความ ต้องการของตลาดในแต่ละส่วน ส่งผลต่อการบริหารนโยบายเพื่อสร้างโอกาสทางการตลาดและกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับเป้าหมายสามารถหรือนำมาพัฒนาสินค้าและบริการให้เสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้อย่างเหมาะสมยิ่งขึ้น
  3. ทำให้นักการตลาดสามารถวิเคราะห์โอกาสในตลาดและแต่ละส่วนได้อย่างชัดเจน ช่วยให้ง่ายต่อการสร้างการเติบโตให้กับองค์กรธุรกิจหรือสามารถวางกลยุทธ์เพื่อเพิ่มยอดขายได้ง่ายขึ้น
  4. การรับรู้ Market share ช่วยให้นักการตลาด สามารถบริหารจัดการทรัพยากรที่ดำเนินงานทางการตลาดให้เกิดประสิทธิภาพ และทำให้การเติบโตของธุรกิจเกิดขึ้นได้ไม่ยาก
  5. ประโยชน์ของการรับรู้ Market share สามารถปรับปรุงแผนการตลาดและงบประมาณการตลาดให้เกิดประสิทธิภาพสอดคล้องกับตลาดเป้าหมายได้มากยิ่งขึ้น
  6. ทราบถึงความต้องการและความพอใจของลูกค้าหรือการบริหารงานแต่ละส่วน
  7. การรับรู้ Market share ช่วยให้เลือกตลาดได้เหมาะสมกับความสามารถของบริษัทหรือองค์กร
  8. การรับรู้ Market share ทำให้วางแผนการตลาดในทุก ๆ ด้านอย่างมีประสิทธิภาพ

การรับรู้ Market share และเกณฑ์ในการแบ่งส่วนตลาด

การรับรู้ Market share และเกณฑ์ในการแบ่งส่วนตลาดที่นักการตลาดนำมาใช้เป็นเครื่องมือมีอยู่หลายหลักเกณฑ์ที่นิยมใช้ในการสร้างการเติบโตและเพิ่มยอดขายสินค้าและบริการให้กับองค์กรได้แก่ เกณฑ์เชิงพฤติกรรมการซื้อประกอบด้วย

  • ลักษณะการซื้อสินค้า (ซื้อเป็นประจำ ซื้อเป็นครั้งคราว ซื้อเฉพาะโอกาสพิเศษ)
  • ปริมาณในการซื้อสินค้า (ซื้อครั้งละชิ้น ซื้อครั้งละหลายชิ้น ซื้อแบบยกโหล)
  • โอกาสในการใช้ (ใช้เป็นประจำ ใช้เป็นครั้งคราว ใช้เฉพาะในโอกาสพิเศษ)
  • ประโยชน์ที่ต้องการ (คุณภาพ การใช้งาน ความประหยัด ความสะดวก บริการ)
  • อัตราการใช้ (ใช้ปริมาณน้อย ใช้ปริมาณปานกลาง ใช้ปริมาณมาก)

ระดับของ Market share หรือการแบ่งส่วนตลาด

  1. การตลาดรวม (Mass Marketing) ใช้กลยุทธ์การผลิตผลิตภัณฑ์แบบไม่แตกต่าง คือเน้นการผลิตจำนวนมากและขายให้กับลูกค้าทุกคนเหมือนกัน ถือว่าไม่มีการแบ่งส่วนตลาดเลยเพราะเป็นการผลิตสินค้าแบบเดียวสำหรับลูกค้าทุกกลุ่ม
  2. การตลาดแบบแบ่งส่วน (Segment Marketing) เป็นการแบ่งตลาดออกเป็นส่วนๆ ตามความต้องการของผู้บริโภคที่แตกต่างกัน เพื่อผลิตสินค้าหรือบริการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคแต่ละกลุ่ม
  3. การตลาดส่วนย่อย (Niche Marketing) เป็นการแบ่งตลาดออกเป็นส่วนย่อย ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคเฉพาะบุคคล

สรุปส่วนแบ่งการตลาด (Market share)

เปรียบเสมือนเครื่องมือทางการตลาดในการวิเคราะห์เพื่อเลือกกลุ่มเป้าหมายทางการตลาดหรือเป็นกระบวนการการแบ่งหรือแยกลูกค้าออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ เพื่อให้ลูกค้าที่มีลักษณะที่มีความต้องการคล้ายคลึงกันมาอยู่ในกลุ่มเดียวกัน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงานด้านการตลาดและสามารถเข้าถึงลูกค้าเป้าหมายแต่ละกลุ่ม ซึ่งมีความต้องการที่แตกต่างกัน ผลลัพธ์ที่ได้จากการ Market Share ก็คือการใช้เป็นกลยุทธ์เพิ่มยอดขายสร้างการเติบโตให้กับองค์กรนั้นเอง