six sigma

Six Sigma เทคนิคการจัดการคุณภาพในองค์กร

การบริหารธุรกิจให้ประสบความสำเร็จตามสิ่งที่มุ่งหวัง โดยเฉพาะการมุ่งสู่ความเป็นเลิศ จำเป็นที่จะต้องมีกลยุทธ์หรือเทคนิคการจัดการคุณภาพในองค์กรมาเป็นแนวทางในการบริหารจัดการหรือเป็นกระบวนการในการพัฒนาคุณภาพ อันประกอบด้วยรูปแบบที่เป็นมาตรฐานเพื่อการจัดการที่ลงตัวและตอบสนองต่อปัญหาขององค์กร ดังนั้น Six Sigma จึงได้กำเนิดขึ้นมาเพื่อเข้ามาจัดการกับปัญหาเหล่านี้และทำให้เกิดคุณภาพสูงสุดในระดับองค์กร แล้ว Six Sigma คืออะไร จะมีความสำคัญหรือประโยชน์ใดที่เราควรรู้บ้าง บทความนี้มีคำตอบค่ะ

Six Sigma คืออะไร

Six Sigma คือ ระบบการจัดการคุณภาพในองค์กรที่มีคุณภาพมากระบบหนึ่ง ซึ่งสามารถลดความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในกระบวนการทำงานต่าง ๆ ได้อย่างดีและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การนำแนวคิดของ Six Sigma มาใช้จึงเป็นเทคนิคการจัดการคุณภาพในองค์กร ที่มุ่งเน้นให้เกิดปัญหาระหว่างการทำงานให้ความผิดพลาดน้อยที่สุดและความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นนั้นจะต้องไม่เกิน 3.4 ชิ้น ต่อการผลิตหนึ่งล้านชิ้น ปัจจุบัน Six Sigma ก็กลายเป็นวิธีการปฏิบัติเพื่อการพัฒนากระบวนการทางธุรกิจและการควบคุมคุณภาพ โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อลดต้นทุนและปรับกระบวนการทำงานให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ที่บริษัทวางไว้ ซึ่งก็ส่งผลในเชิงบวกให้แก่องค์กรในการทำงานที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นนั่นเอง

Six Sigma ความเป็นมา แนวคิดพื้นฐาน และความสำคัญต่อองค์ธุรกิจ

1. ความเป็นมาและการนำไปใช้

Six Sigma เป็นแนวคิดการบริหารที่เกิดขึ้นปี พ.ศ. 2533 โดยกลุ่มวิศวกรของบริษัท Motorola ภายใต้การนำของ Dr.Mikel Harry ซึ่งได้เป็นผู้ริเริ่มแนวคิดนี้ และได้นำมาใช้กับการออกแบบผลิตภัณฑ์ของบริษัทจนประสบความสำเร็จอย่างสูง ต่อมาบริษัทต่าง ๆ ในสหรัฐอเมริกาจึงได้นำแนวคิดการบริหารจัดการแบบ Six Sigma เข้ามาใช้ และประสบความสำเร็จ ซึ่งก็ทำให้เกิดผลกำไรที่น่าทึ่ง เนื่องจากการนำแนวคิดนี้มาใช้นั้นได้สามารถลดต้นทุนการผลิตลงไปได้แต่ก็ยังสามารถที่จะผลิตได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ทำให้ไม่เกิดความสูญเปล่าหรือการคว้าน้ำเหลว จึงเป็นเหตุผลที่ทำไมหลาย ๆ บริษัทจึงเลือกใช้แนวคิดนี้ในการจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์กร

2. แนวคิดพื้นฐานของ Six Sigma

เทคนิคการจัดการคุณภาพในองค์กร ด้วย Six Sigma เป็นแนวคิดพื้นฐานในการพัฒนาที่มุ่งเน้นความเป็นเลิศ และมีการกำหนดแนวทางในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ด้านการสื่อสาร การสร้างกลยุทธ์ และนโยบาย การกระจายนโยบาย การจูงใจ และการจัดสรรทรัพยากรในองค์กรให้เหมาะสม เพื่อให้การปรับปรุงองค์กรเป็นไปอย่างต่อเนื่องและเกิดความเป็นระบบมากยิ่งขึ้น ซึ่งหัวใจสำคัญของแนวคิดนี้ ได้แก่ การมีส่วนร่วมของพนักงานรวมทั้งการมีทีมที่มีความสามารถ ตลอดจนการมีทีมที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์สูงคอยให้ความช่วยเหลือสนับสนุน เพื่อให้ความผิดพลาดในการผลิตและการบริการนั้นเกิดความผิดพลาดอย่างน้อยที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้

ความสำคัญของ Six Sigma ต่อองค์ธุรกิจ

  • Six Sigma เป็นการบริหารที่มุ่งเน้นในการลดความผิดพลาดในการทำงาน ลดความสูญเปล่าจากปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างการทำงาน และลดการแก้ไขตัวชิ้นงานที่จะต้องใช้เวลานานและส่งผลต่อการผลิตที่ตามมา Six Sigma จึงสามารถลดปัญหาในเรื่องของต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากการผลิตได้อย่างมีระบบและรวดเร็วโดยการนำกระบวนการทางสถิติมาใช้ในการทำงาน
  • เป็นแนวปฏิบัติที่สอนให้พนักงานรู้แนวทางในการทำธุรกิจอย่างมีหลักการและจะไม่พยายามจัดการกับตัวปัญหาที่เกิดขึ้น แต่จะพยายามกำจัดปัญหานั้น ๆ ทิ้งไป ถือเป็นการพัฒนาบุคลากรในองค์การให้มีศักยภาพสูงขึ้นตอบสนองต่อกลยุทธ์ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งการทำเช่นนี้ก็จะส่งผลให้เกิดปัญหาในการทำงานที่ลดน้อยลงไปสามารถรับกับแนวคิดของ Six Sigma ได้อย่างพอดิบพอดี
  • Six Sigma เป็นการบริหารจัดการองค์กรที่ทำให้เกิดความร่วมมือกันทุกฝ่าย ตั้งแต่ CEO ไปจนถึงบุคลากรทั่วไปในองค์กร ซึ่ง Six Sigma เป็นการรวมกันระหว่างอานุภาพแห่งคน และอานุภาพแห่งกระบวนการหรือเทคนิคในการจัดการคุณภาพขององค์กร ซึ่งถือเป็นการปรับองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และสามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างตรงจุด ดังนั้นปัญหาที่จะเกิดขึ้นจึงมีน้อยมาก ๆ
  • Six Sigma สำคัญต่อองค์กรธุรกิจ เพราะเป็นวิธีการปรับปรุงประสิทธิภาพในกระบวนการต่าง ๆ ได้อย่างตรงจุด โดยมุ่งเน้นการลดความไม่แน่นอน หรือ Variation และการปรับปรุงขีดความสามารถในการทำงานให้ได้ตามเป้าหมายที่กำหนด เพื่อนำมาซึ่งความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อองค์กรที่จะส่งผลในระยะยาวและผลตอบแทนที่ได้รับนั้นก็จะเป็นจำนวนเงินที่แน่นอน เนื่องจากไม่มีปัญหาที่ทำให้เกิดความผิดพลาดในการผลิต ทำให้องค์กรสามารถรับกำไรที่ดีได้มากยิ่งขึ้น

เทคนิคและหลักการของ Six Sigma ต่อการจัดการคุณภาพในองค์กร

  1. หลักการบริหารของ Six Sigma จะยึดที่ตัวผู้รับบริการเป็นจุดศูนย์กลาง : ในข้อนี้เราจะมองกันไปที่ผู้รับบริการหรือลูกค้าเป็นสำคัญ เพราะการใช้แนวคิดแบบ Six Sigma นี้จะทำให้เกิดการผลิตที่มีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น เนื่องจากได้กำจัดปัญหาที่จะทำให้เกิดความเสี่ยงทิ้งไป ส่งผลให้ลูกค้าได้รับผลจากการผลิตที่เร็วขึ้น ซึ่งนั่นก็เป็นผลดีต่อองค์กรในด้านกำไรและลดต้นทุนในการผลิตได้จากความไม่มีข้อผิดพลาดในการผลิตนั่นเอง
  2. เป็นการบริหารจัดการโดยใช้ข้อมูลจริง ทำให้ผลลัพธ์ที่ได้ตอบโจทย์ปัญหาและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร : เนื่องจาก Six Sigma นี้ จะอาศัยการใช้สถิติในการเป็นส่วนหนึ่งของแนวคิด ซึ่งการใช้สถิติที่เป็นข้อมูลจริง จะทำให้เห็นสภาพของปัญหาหรือสิ่งที่ควรปรับปรุงได้มากยิ่งขึ้น
  3. เทคนิคการบริหารของ Six Sigma มุ่งเน้นกระบวนการเป็นหลัก : กระบวนการที่เรากำลังพูดถึงนี้ก็หมายถึง DMAIC ซึ่งเป็นกระบวนการที่สามารถรับกับการแก้ปัญหาแบบ Six Sigma ได้เป็นอย่างดี โดยมีกระบวนการดังนี้ค่ะ
    3.1 Define – การระบุปัญหาที่เกิดขึ้น
    3.2 Measure – การวัด
    3.3 Analyze – การวิเคราะห์เพื่อหาปัญหา
    3.4 Improve -การนำปัญหาที่พบมาปรับปรุง
    3.5 Control – การควบคุมปัญหาที่พบให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด
  4. กลักการปฏิบัติเน้นการจัดการเชิงรุก : จะเน้นไปที่การเข้าถึงปัญหาต่าง ๆ และมาวิเคราะห์ว่าจะทำอย่างไรกับปัญหาเหล่านี้ ซึ่งก็จะมีตัวเลือก 2 แบบ นั่นก็คือ ปรับปรุง หรือ กำจัด
  5. เน้นการแก้ปัญหาแบบไร้พรมแดน โดยจะยึดปัญหาเป็นตัวตั้ง : โดยแนวคิดนี้จะไม่ได้สนใจค่ะว่าต้องทำแบบนี้เท่านั้นจึงจะสามารถจัดการกับปัญหาที่เกิดได้ แต่เป็นการลองผิดลองถูกเพื่อให้ได้วิธีการปรับปรุงการแก้ปัญหาให้เร็วที่สุดที่จะไม่ทำให้การผลิตเกิดความล่าช้านั่นเอง
  6. หลักการบริหาร เน้นภาวะผู้นำและการมีส่วนร่วมของฝ่ายบริหาร ที่จะทำให้เกิดความร่วมมือกันทุกฝ่าย : เนื่องจากแนวคิดนี้เป็นแนวคิดที่จะต้ออาศัยความเป็นทีมเวิร์ค เพื่อให้ได้รับความรวดเร็วในการหาปัญหาที่เกิดขึ้นและควบคุมไม่ให้ปัญหาเหล่านั้นเกิดขึ้นน้อยที่สุด จึงต้องมีหลายฝ่ายที่จะต้องประสานงานกันเพื่อให้ได้รับความพึงพอใจจากลูกค้า
  7. เทคนิคการบริหาร มุ่งเน้นนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ การสร้างความพึงพอใจ : มุ่งเน้นไปที่นวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ในส่วนตรงนี้ก็จะหมายถึงลุกค้าโดยตรงเลยค่ะ เพราะอย่างไรเสีย มนุษย์จะชอบความแปลกใหม่อยู่เสมอ ซึ่งการได้รับความพึงพอใจจากลูกค้าก็จะส่งผลในด้านดีให้กับองค์กรในระยะยาวได้อีกด้วย
  8. หลักการบริหารที่สำคัญของ Six Sigma คือการมุ่งสู่ความเป็นเลิศ : Six Sigma จะเน้นไปที่การปิดงานอย่างสมบูรณ์แบบ ซึ่งก็เนเช่นนั้นค่ะเนื่องจากปัญหาในการทำงานที่น้อยจึงทำให้เกิดความสมบูรณ์แบบในการปิดงานได้น้อยเช่นเดียวกัน และในบางกรณีก็ไม่พบปัญหาในงานเนื่องจากกระบวนการที่ใช้นั้นสามารถตอบโจทย์และรับกับปัญหาได้อย่างตรงจุดนั่นเอง

ประโยชน์ในการนำ Six Sigma ไปใช้ในองค์กร

  • เป็นหลักการบริหารจัดการและพัฒนาองค์กร โดยใช้ข้อมูลจริงและใช้หลักการทางสถิติซึ่งเป็นที่ยอมรับ
  • สร้างทีมงานในองค์กรให้แข็งแกร่ง โดยประสานความร่วมมือของทุกฝ่ายซึ่งผลการปฏิบัติงานสามารถวัดผลได้
  • หลักการบริหารจัดการและพัฒนาองค์กร สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างเป็นระบบและยังเสริมสร้างกลยุทธ์ใหม่ให้กับธุรกิจ
  • เป็นเทคนิคการบริหารที่พัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพสูงขึ้นและปรับองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
  • สามารถเพิ่มผลประกอบการด้านการเงินจากหลักการบริหารที่ประหยัดต้นทุน และเพิ่มผลกำไรจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์และขยายการดำเนินงานเพื่อเพิ่มผลกำไร พร้อมทั้งมุ่งเน้นการตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้า