4c คือ

4c กลยุทธ์ หลักคิด พิชิตใจลูกค้าอย่างยั่งยืน

การลงทุนในธุรกิจเกือบทุกประเภท “การบริหารด้านการตลาด” คือหัวใจสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจนั้น ๆ ประสบความสำเร็จตามแผนงาน สามารถสร้างผลกำไรตามเป้าหมายที่วางไว้ได้ และปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการดำเนินงานของธุรกิจก็คือลูกค้าหรือกลุ่มผู้บริโภค เพียงเรามีมุมมองหรือรู้ว่าลูกค้าต้องการอะไร แบบไหน และอย่างไร 4c คือหลักคิดหรือกลยุทธ์ด้านการตลาดที่ช่วยให้รู้ว่าลูกค้าต้องการอะไร

4c คืออะไร

4c คือหลักการตลาด ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการรู้ความต้องการของลูกค้า เพราะโดยทั่วไปมุมมองด้านการตลาด จะเป็นการมองของผู้ประกอบการหรือผู้ผลิตว่าจะทำอย่างไรให้ลูกค้ามาใช้บริการหรือซื้อสินค้าของตน ส่วนการตลาดแบบ 4c คือกลยุทธ์ที่มุ่งเน้นไปที่การค้นหาว่าจริง ๆ แล้วลูกค้าต้องการอะไร และคิดอย่างไร เพื่อให้แบรนด์สินค้าหรือผู้ประกอบการสามารถตอบโจทย์ผู้บริโภคได้ตรงจุดมากที่สุด

4c มีอะไรบ้าง

4C คือกลยุทธ์การตลาด หรือเปรียบเสมือนเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้ประกอบการและเจ้าของแบรนด์สินค้า ทราบว่าลูกค้าต้องการอะไร เพื่อนำเสนอหรือทำการตลาดให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าให้ได้มากที่สุด 4C ประกอบด้วยหลักคิดที่น่าสนใจ ดังนี้

  • Customer หมายถึง สิ่งที่ลูกค้าต้องการ หรือกำลังมองหา
  • Cost หมายถึง ความคุ้มค่าของลูกค้า
  • Convenience หมายถึง ความสะดวกสบายในการซื้อ หรือใช้บริการ
  • Communication หมายถึง การสื่อสารและการเลือกช่องทางการสื่อสารให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย

4c ช่วยให้รับรู้ความต้องการของลูกค้าได้อย่างไร

แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารด้านการตลาด ในมุมมองของหลัก 4c นั้นเป็นการปรับเปลี่ยนมุมมองจากการบริหารด้านการตลาดด้วยการให้ความสำคัญกับตัวสินค้ มาให้ความสนใจที่ตัวผู้บริโภคมากขึ้น โดยศึกษาและทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งว่าลูกค้ามีความต้องการอะไร เพื่อผลิตสินค้าและบริการให้รองรับความต้องการของกลุ่มลูกค้าให้ตรงจุด โดยการนำหลัก 4c มาเป็นทางเพื่อช่วยให้รับรู้ความต้องการของกลุ่มลูกค้าได้ ดังนี้

Consumer หรือสิ่งที่ลูกค้าหรือผู้บริโภคต้องการ

หลักคิดในข้อนี้ เน้นความต้องการของผู้บริโภคเป็นหลัก ไม่เฉพาะผลิตสินค้าหรือบริการให้เข้าถึงใจผู้บริโภคให้ได้มากที่สุดเท่านั้น แต่ยังยังรวมไปถึงการบริหารความสัมพันธ์ของลูกค้า โดยต้องยึดหลักการสรรค์สร้างสินค้าและบริการให้ตรงใจลูกค้าในทุก ๆ กลุ่ม ซึ่งนักการตลาดจะต้องทำการสำรวจว่าผู้บริโภคต้องการสิ่งใดหรืออะไรที่เป็นปัญหาของแบรนด์และส่งผลต่อความต้องการของลูกค้า โดยยังไม่ได้รับการแก้ไข และหาคำตอบให้ได้ว่าสินค้าหรือบริการของเราเป็นสิ่งที่ลูกค้าต้องการจริง เพราะสิ่งที่ขายได้คือสิ่งที่ลูกค้าหรือผู้บริโภคมีความต้องการ ไม่ใช่สิ่งที่ผู้ประกอบการหรือแบรนด์ต้องการผลิตออกมาจำหน่าย

Cost หรือ ความคุ้มค่าของลูกค้า

คือหลักคิดเกี่ยวกับผู้บริโภคหรือลูกค้า ที่มีมุมมองต่อราคาของสินค้า โดยมุมมองของผู้บริโภคที่ตัดสินใจซื้อสินค้ามักเปรียบเทียบราคาสินค้ากับคุณภาพของสินค้าที่จะได้รับว่ามีความคุ้มค่าหรือไม่ ดังนั้นในการตั้งราคาสินค้าจึงต้องอยู่บนหลักของความสมเหตุสมผล และไม่ควรพิจารณาเฉพาะในเรื่องของต้นทุนการผลิตเท่านั้น

Convenience หมายถึง ความสะดวกสบายในการซื้อ หรือใช้บริการ

โดยทั่วไปการบริหารด้านการตลาดที่เกี่ยวข้องกับข้อนี้ มักมุ่งเน้นไปที่การเพิ่มช่องทางการจำหน่าย เพราะมีแนวคิดว่า ยิ่งมีช่องทางหรือหน้าร้านมากเท่าไร โอกาสที่ผู้บริโภคจะซื้อก็มีตามไปด้วย อาจไม่ตอบโจทย์ Convenience เพราะความสะดวกสบายในการซื้อหรือใช้บริการ ควรเป็นการทำให้ช่องการจัดทำหน่ายสะดวกต่อผู้บริโภค โดยการสำรวจว่าปกติกลุ่มลูกค้าเป้าหมายซื้อสินค้าจากที่ไหนและอย่างไร หากพบว่าลูกค้าสั่งซื้อหรือเลือกซื้อสินค้าจากหลายช่องทาง แบรนด์หรือผู้ประกอบการควรดำเนินการให้มีช่องทางการจำหน่ายที่หลากหลายมากขึ้น

Communication หมายถึง การสื่อสาร และการเลือกช่องทางการสื่อสารให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย

เป็นการศึกษามุมมองของลูกค้าหรือผู้บริโภคเกี่ยวกับการส่งเสริมด้านการตลาดให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงการติดต่อสื่อสารที่ต้องสะดวก ง่าย รวดเร็ว โดยการสื่อสารที่สร้างความรับรู้ให้ผู้บริโภคและตลาด ได้แก่การโฆษณา ประชาสัมพันธ์ การส่งเสริมการขาย รวมถึงสื่อสารแบบกระตุ้นตลาด ได้แก่การจัดงานแสดงสินค้า การจัดนิทรรศการงานโชว์ การตลาดเชิงรุกหรือการตลาดแบบตรงและเข้าถึงลูกค้ารายตัว ซึ่งจะทำให้กลุ่มลูกค้าเป้าหมายสามารถรับรู้และเข้าถึงสินค้าของแบรนด์ได้จริง

4c ตัวอย่าง

Consumer หรือสิ่งที่ลูกค้าหรือผู้บริโภคต้องการ

หากเราเปิดร้านขายอาหารตามสั่ง เราก็ต้องมาดูว่ากลุ่มลูกค้าของเราชอบอาหารประเภทใด อาหารจานเดียว ข้าวราดแกง หรืออาหารอีสาน สัดส่วนของคนที่ชอบอาหารประเภทใดมากกว่ากัน เพื่อนำมาวิเคราะห์และตอบสนองในทุกส่วนที่เราสามารถทำให้ลูกค้าได้ตามสิ่งที่กลุ่มลูกค้าต้องการ

Cost หมายถึง ความคุ้มค่าของลูกค้า

แนวคิดตามหลักการในข้อนี้ ลูกค้าส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับคุณภาพของสินค้า ไม่ใช่เรื่องของราคาถูกหรือแพง แต่เป็นความคุ้มค่าหมายถึงคุณภาพและราคาของสินค้านั้น ๆ มีความสมเหตุสมผล การตั้งราคาที่ต่ำไปในมุมมองของลูกค้าอาจคิดสินค้านั้นคุณภาพต่ำตามราคา ในทางตรงกันข้ามการตั้งราคาที่สูงหากสินค้าพรีเมียมหรือคุณภาพดี ราคาก็เป็นสิ่งที่ยืนยันคุณภาพของสินค้านั้น ๆ ได้เช่นเดียวกัน การตั้งราคาสินค้าเพื่อให้ลูกค้ารู้สึกถึงความคุ้มค่า จึงควรอยู่ในราคาที่สมเหตุสมผล

Convenience หมายถึง ความสะดวกสบายในการซื้อ หรือใช้บริการ

หากสำรวจพบว่าลูกค้าสั่งซื้อหรือเลือกซื้อสินค้าจากหลายช่องทาง จากสถานการณ์ Covid-19 เป็นช่วงที่ผู้คนไม่สามารถออกจากบ้านได้ การเพิ่มช่องทางการจำหน่ายผ่านสื่อออนไลน์ หรือเปิดร้านเปิดเว็บไซน์ ก็ถือว่าเป็นการตอบสนองที่ตรงจุดในข้อนี้

Communication หมายถึง การสื่อสารและการเลือกช่องทางการสื่อสารให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย

เพื่อให้สินค้าหรือบริการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้ง่ายและรวดเร็วที่สุด อาจรีวิวสินค้าและบริการ โดยว่าจ้างผู้ที่มีชื่อเสียง เช่น ดารา นักร้อง เน็ตไอดอล มารีวิว หรือทำคอนเทนต์ที่ตรงกับกลุ่มผู้บริโภค

สรุป 4c คือหลักการด้านการตลาด หรือกลยุทธ์ที่ช่วยให้แบรด์หรือผู้ประกอบการข้าใจกลุ่มลูกค้า รวมถึงทำให้มองเห็นจุดที่ต้องปรับและพัฒนาสินค้าและบริการ ให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้มากที่สุด เพราะ ยิ่งเราสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งเพิ่มโอกาสให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้เร็วยิ่งขึ้น

thechetter

นักเขียนที่ขยันขันแข็งและมุ่งมั่นที่จะผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพ เรียนรู้และเติบโตอยู่เสมอ เชื่อว่าเนื้อหาที่ดีสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกได้