เปิดสาเหตุความดันต่ำ สัญญาณอันตรายสำหรับวัยทำงาน

หนึ่งในภัยเงียบที่เราต้องเฝ้าระวังและหมั่นคอยสำรวจตัวเองอยู่เสมอเกี่ยวกับความดันโลหิตคือ เรื่องอาการความดันต่ำ เนื่องจากความดันต่ำเป็นสภาวะที่ร่างกายแสดงปฏิกิริยาออกมาแบบเฉียบพลัน โดยอาการเบื้องต้น มักมีอาการหน้ามืดเวียนหัว อ่อนเพลีย รวมถึงอาการใจสั่น อีกทั้งอาการความดันต่ำยังสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย ด้วยเหตุนี้เราจึงจำเป็นต้องศึกษา เรียนรู้ในเรื่องถึงสาเหตุและที่มาของอาการความดันต่ำอย่างละเอียด สิ่งที่ต้องทราบเกี่ยวกับความดันโลหิตต่ำมีดังต่อไปนี้

ความดันโลหิตคืออะไร

ความดันโลหิตต่ำเป็นหนึ่งในสภาวะผิดปกติของร่างกาย จึงไม่สามารถเรียกว่าโรคได้ ซึ่งความดันต่ำจะเกิดจากภาวะเลือดที่มีค่าต่ำกว่า 90 / 60 มิลลิเมตรปรอท โดยตัวเลขดังกล่าวเป็นตัวเลขที่ต่ำกว่ามาตรฐานของค่าความดันภายในเลือดตามปกติ ด้วยเหตุนี้ภาวะความดันต่ำจึงเป็นอีกหนึ่งอาการเฉียบพลันที่ร่างกายแสดงออกมาได้เสมอ ทั้งนี้ความดันต่ำยังขึ้นอยู่กับภาวะร่างกายอ่อนแอ โดยสามารถแบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้

1. ภาวะความดันต่ำแบบเฉียบพลัน

มักเกิดจากการเปลี่ยนแปลงท่าทางแบบกะทันหัน และการพักผ่อนไม่เพียงพอ

2. ภาวะความดันต่ำชนิดเรื้อรัง

ภาวะนี้เป็นภาวะที่มักเกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง ยิ่งในกรณีที่บุคคลนั้นมีอาการความดันต่ำเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว ด้วยเหตุนี้ผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องระมัดระวังและคอยดูแลสุขภาพตัวเองให้ดีอยู่สม่ำเสมอ จากงานวิจัยพบว่าภาวะนี้มักเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ ตลอดจนผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ

ขั้นตอนการดูแลผู้ป่วยความดันต่ำ

1. อาบน้ำอุ่นเพื่อช่วยรักษาอุณหภูมิของร่างกาย

เนื่องจากอุณหภูมิของน้ำมีผลโดยตรงต่อการขยายตัวของหลอดเลือด ดังนั้น ผู้ป่วยที่มีภาวะความดันต่ำ จึงควรอาบน้ำอุ่น เพื่อคงระดับความดันและรักษาอุณหภูมิภายในร่างกายให้คงที่อยู่เสมอ

2. เช็คสุขภาพร่างกายอย่าสม่ำเสมอ

ผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตต่ำเสี่ยงต่อการเกิดภาวะความดันต่ำได้ง่าย ด้วยเหตุนี้ผู้ที่มีภาวะความดันต่ำเรื้อรังจึงควรหมั่นตรวจเช็คสุขภาพอย่างสม่ำเสมอและควรดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดอาการเวียนหัวหรือหน้ามืดในระหว่างวัน

3. เฝ้าระวังอุบัติเหตุ

อัตราการเกิดอุบัติเหตุจากผู้ป่วยภาวะความดันต่ำเรื้อรังมีอัตราสูงถึง 70% ผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องเฝ้าระวังอาการผิดปกติจากร่างกาย เนื่องจากผู้ป่วยง่ายต่อการล้มหมดสติตลอดจนเกิดภาวะสมองขาดออกซิเจนชั่วคราว หากปล่อยทิ้งไว้อาจนำมาซึ่งความเสียหายต่อระบบประสาท ตลอดจนการทำงานของสมองและหัวใจร่วมด้วย

4. ปรับเปลี่ยนอิริยาบถอย่างช้า ๆ

การ ลุก นั่ง ก้ม เงย แบบเร็ว จะส่งผลโดยตรงให้ผู้ป่วยมีอาการหน้ามืด เวียนหัว ด้วยเหตุนี้การเปลี่ยนอิริยาบถอย่างช้า ๆ ก็จะช่วยลดโอกาสการเกิดภาวะความดันต่ำแบบเฉียบพลันได้

ค่าความดันโลหิตตัวล่าง

ค่าความดันโลหิตคือภาวะที่แรงดันภายในเลือดช่วงหัวใจบีบตัวและคลายตัว ซึ่งระหว่างที่หัวใจขยายตัว แรงดันจะเกิดการยืดหยุ่นมากขึ้นภายในหลอดเลือด สภาวะนี้จึงเรียกว่า ความดันตัวล่าง (Diastolic) แต่หากหัวใจบีบตัวแล้วแรงดันภายในหลอดเลือดสูงขึ้นสภาวะนี้จะเรียกว่า ความดันตัวบน (Systolic) โดยตามปกติความดันตัวบนไม่ควรแสดงค่าเกิน 120 – 129 และความดันตัวล่างไม่ควรแสดงค่าเกิน 80 – 84 มิลลิเมตรปรอท

ซึ่งในกรณีที่ความดันโลหิตต่ำกว่า 90 / 60 มิลลิเมตรปรอทในผู้ใหญ่และความดันต่ำกว่า 100 / 70 มิลลิเมตรปรอทในผู้สูงอายุ จะแสดงถึงสุขภาพร่างกายอ่อนแอ ตลอดจนเป็นผู้ที่มีประวัติโรคความดันต่ำหรือเริ่มมีอาการความดันต่ำเบื้องต้นแล้ว

4 สาเหตุอันตราย

ด้วยเหตุที่ภาวะความดันต่ำเป็นหนึ่งในอาการที่ไม่สามารถพัฒนาไปสู่โรคเรื้อรังอื่น ๆ ได้ สาเหตุที่นำไปสู่ภาวะความดันต่ำจึงมีสาเหตุดังต่อไปนี้

1. ภาวะความดันต่ำอันเกิดจากการปรับเปลี่ยนอิริยาบถของร่างกายอย่างรวดเร็ว

จะส่งผลโดยตรงต่อการสูบฉีดเลือดและแรงดันภายใน ร่างกายจึงแสดงอาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด มือเท้าเย็น นอกจากความดันภายในหลอดเลือดจะพุ่งตรงสู่สมองอย่างรวดเร็วจนทำให้จังหวะการหายใจและสภาพร่างกาย ณ ขณะนั้นรับผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ไม่ทัน จึงเกิดภาวะความดันต่ำ

2. ภาวะความดันต่ำที่เกิดจากภาวะเลือดในสมองไม่เพียงพอ

ความเครียดมีผลทำให้ระดับความดันเลือดในร่างกายผิดปกติ นอกจากนี้การขาดสารอาหารประเภทโปรตีน วิตามินซี วิตามินบี ก็ส่งผลให้เนื้อเยื่อภายในผนังหลอดเลือดอ่อนแอ ซึ่งความสัมพันธ์ของเนื้อเยื่อในหลอดเลือดนี้มีผลโดยตรงต่อการเกิดภาวะความดันต่ำได้

3. ภาวะความดันต่ำจากเหตุอื่น

มักเกิดจากการใช้ยาหรือผู้ที่มีโรคประจำตัว ที่จำเป็นต้องใช้ยาลดความดันโลหิต ยาขับปัสสาวะ ยากล่อมประสาท ยาต้านความเครียด ซึ่งมีผลต่อระดับความดันเลือดภายในร่างกายโดยตรง รวมถึงผู้ที่มีอาการแพ้ต่าง ๆ หญิงตั้งครรภ์ ผู้ป่วยโรคโลหิตจาง โรคหัวใจ และโรคพาร์กินสัน ก็ล้วนเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะความดันต่ำได้โดยง่าย

4. ภาวะความดันต่ำชนิดไม่ทราบสาเหตุ

มักเกิดในบุคคลที่มีรูปร่างผอมบางหรือมีน้ำหนักตัวต่ำกว่ามาตรฐาน

แนวทางป้องกันไม่ให้เกิดภาวะความดันต่ำแบบซ้ำ ๆ และควบคุมอาการให้เกิดขึ้นได้น้อยที่สุด

เราจำเป็นต้องใส่ใจในเรื่องของการกินอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบทั้ง 5 หมู่ เน้นทานวิตามินบี 12 ผักใบเขียว และผลไม้ เพิ่มคุณภาพในการนอนหลับและดื่มน้ำเปล่าให้ได้อย่างน้อย 6-8 แก้วต่อวัน เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะความดันต่ำที่อาจจะเกิดขึ้นได้ นอกจากนี้เรายังจำเป็นต้องออกกำลังกาย หลีกเลี่ยงความเครียดและการเปลี่ยนอิริยาบถอย่างรวดเร็ว

ภาวะความดันต่ำสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องใส่ใจเรื่องของสุขภาพร่างกายของตัวเราเองและคนรอบข้างอยู่เสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดสภาวะความดันต่ำแบบเฉียบพลันหรือเรื้อรัง ซึ่งหากเราพบว่าค่าความดันของเราสูงหรือต่ำเกินกว่าค่าปกติ ตลอดจนมีภาวะความดันต่ำรุนแรงผิดปกติ ควรรีบเข้ารับการรักษาเพื่อป้องกันอาการชักเกร็งจากการขาดออกซิเจนแบบฉับพลันหรือผลข้างเคียงอื่น ๆ จากภาวะความดันต่ำได้

thechetter

นักเขียนที่ขยันขันแข็งและมุ่งมั่นที่จะผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพ เรียนรู้และเติบโตอยู่เสมอ เชื่อว่าเนื้อหาที่ดีสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกได้