รู้จักค่าความดันโลหิต ค่าสำคัญสำหรับโรคความดันโลหิตสูง

ปัญหาสุขภาพนับเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ทำให้คนมีความกังวลใจในการใช้ชีวิต และหลายคน ก็ละเลยและมองข้ามเรื่องที่อยู่ใกล้ตัว ความเสี่ยงหรือปัจจัยอะไรที่ทำให้เราเกิดโรคความดันโลหิต โรคที่ใกล้ตัวกว่าที่คุณคิด วันนี้ถึงเวลาแล้วที่คุณจะต้องมาศึกษาข้อมูลเพื่อป้องกันตัวเองจากโรคความดันโลหิต

ค่าความดันโลหิตภาษาอังกฤษเรียกว่าอย่างไร

ทางการแพทย์เรียกว่า Atrial Pressure หรือ Blood Pressure เกิดจากเมื่อหัวใจบีบตัวจะทำให้มีความดันในกระแสหลอดเลือดแดง เกิดการสูบฉีด และเมื่อหัวใจคลายตัวก็จะมีค่ากลางและค่าเฉลี่ยรวมไปถึง ค่าความดันด้านล่างและค่าความดันด้านบน ซึ่งโดยปกติแล้วถ้าความดันปกติ จะขึ้นอยู่กับช่วงอายุหรือวัย ซึ่งการวัดความดันโลหิตจะใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เรียกว่าเครื่องวัดความดัน โดยจะมีลักษณะเป็นผ้าที่มีตัววัดชีพจรสอดเข้าไปที่ต้นแขน สูงกว่าข้อพับบริเวณศอก เพื่อดูตัวเลขความดันว่าปกติดีหรือไม่

สาเหตุที่เราจำเป็นจะต้องรู้จักค่าความดันของตัวเอง เพราะถ้าเกิดเรามีความดันโลหิตสูงมากเกินไป จะส่งผลทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา เช่น เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง โรคหัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจหนา เกิดสภาวะหัวใจวาย ภาวะไตวายเรื้อรัง หรือเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต จนถึงขั้นเสียชีวิต เป็นต้น โดยมีสาเหตุ และแนวทางการป้องกันดังต่อไปนี้

สาเหตุของโรคความดันโลหิตสูงเกิดจากอะไรบ้าง ?

  • พันธุกรรม
    ในกรณีที่มีบุคคลในครอบครัวป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง มีโอกาสที่คนในครอบครัวจะมีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูงเช่นกัน
  • ขาดการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง
    ไม่ออกกำลังกาย พักผ่อนไม่เพียงพอ รับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
  • ผู้ป่วยเป็นโรคอ้วน
    มีโอกาสเป็นโรคความดันสูงมากกว่าผู้ที่มีรูปร่างอยู่ในเกณฑ์ปกติ

แนวทางในการป้องกัน ไม่ให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง

  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
    โดยการออกกำลังกายเน้นการเดินเร็ว วิ่ง หรือว่ายน้ำ
  • ควบคุมอาหาร
    ประเภทของมัน ของหวาน และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงอาหารประเภทน้ำตาล และเนื้อสัตว์ รับประทานอาหารที่มีกากใย
  • ลดความเครียด
    ด้วยการพักผ่อน relax อ่านหนังสือ ฟังเพลง ทำกิจกรรมและต้องไม่นอนดึก
  • งดสูบบุหรี่
    หรือเลี่ยงการอยู่ใกล้บุคคลที่สูบบุหรี่
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
    ได้แก่ ผัก ผลไม้ อาหารที่มีไฟเบอร์สูง ข้าวกล้อง เน้นธัญพืช และไขมันดี

ค่าความดันโลหิตมาตรฐาน

ในกรณีที่ค่าความดันโลหิตอยู่ในมาตรฐานจะทำให้เรามีอาการปกติไม่วิงเวียนศีรษะ หน้ามืดตาลาย หรือมีอาการอ่อนเพลียจนเป็นลม เพราะในกรณีที่เรามีค่าความดันโลหิตผิดปกติไม่เป็นไปตามมาตรฐานก็จะทำให้เรามีอาการเจ็บป่วยได้ซึ่งจริง ๆ แล้วจะแบ่งได้ตามช่วงอายุ ในแต่ละช่วงวัย จะมีค่าเฉลี่ยไม่เท่ากัน โดยมีหน่วยเป็นมิลลิเมตรปรอท โดยในประเทศไทยนั้นได้กำหนดค่าความดันโลหิตปกติอยู่ที่ประมาณ ค่าความดันโลหิตตัวบนไม่เกิน 140 มิลลิเมตรปรอท และ ตัวล่างไม่เกิน 90 มิลลิเมตรปรอท ทั้งนี้ทั้งนั้นจำเป็นจะต้องมีการวัดซ้ำ 2-3 ครั้งในกรณีที่ค่าความดันโลหิตสูงผิดปกติ ซึ่งอาจจะเกิดได้จากภาวะเครียดหรือเหนื่อย

ในกรณีที่ถ้าความดันโลหิตสูงจะแบ่งออกเป็น 3 ระดับ

  • ระดับที่ 1 ค่าความดันโลหิตด้านบนเกิน 140 มิลลิเมตรปรอท และค่าความดันโลหิตด้านล่างเกิน 90 มิลลิเมตรปรอท
  • ระดับที่ 2 ค่าความดันโลหิตด้านบนเกิน 160 มิลลิเมตรปรอท และค่าความดันโลหิตด้านล่างเกิน 100 มิลลิเมตรปรอท
  • ระดับที่ 3 ค่าความดันโลหิตด้านบนเกิน 180 มิลลิเมตรปรอท และค่าความดันโลหิตด้านล่างเกิน 110 มิลลิเมตรปรอท

เตรียมตัวก่อนวัดความดันโลหิต

  • ก่อนการวัดความดันโลหิต
    ประมาณ 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง ไม่ควรมีการดื่มเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ หรืออยู่ในสภาวะที่มีการออกกำลังกายอย่างหนักหน่วง รวมไปถึง อารมณ์ ความโกรธ ความเครียด เราจะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นมา
  • นั่งพัก
    ก่อนทำการตรวจประมาณ 10 นาที
  • เข้าห้องน้ำทำธุระปัสสาวะ
    ให้เรียบร้อยก่อนทำการตรวจวัดความดัน

ค่าความดันโลหิตค่าบน

หมายถึง ค่าการบีบตัวของหัวใจ หรืออัตราการเต้นของหัวใจที่มีการบีบตัว และมีการไล่เลือดออกจากหัวใจ ทางการแพทย์เรียกว่า Systolic Blood

ค่าความดันโลหิตตัวล่าง

หมายถึง ค่าหัวใจในขณะที่หัวใจคลายตัว ทางการแพทย์เรียกว่า Diastolic Blood Pressure เป็น ค่าความดันของเลือดที่ยังค้างอยู่ในหลอดเลือดขณะที่หัวใจคลายตัว

ค่าความดันโลหิตตามอายุ

เป็นเรื่องที่ทุกคนควรทราบ เนื่องจากจะได้หาทางป้องกันและรักษากรณีที่ค่าความดันของเราผิดปกติ ซึ่งโดยปกติแล้วจะมีการแบ่งช่วง ค่าความดันตามอายุ และมีหน่วยวัดเป็นมิลลิเมตรปรอท ได้แก่

  • ช่วงวัยทารก ค่าความดันตัวบน เฉลี่ยไม่ควรเกิน 90 และค่าความดันตัวล่าง เฉลี่ยไม่ควรเกิน 60
  • ช่วงวัยเด็ก อายุ 3-6 ปี ค่าความดันตัวบน เฉลี่ยไม่ควรเกิน 110 และค่าความดันตัวล่าง เฉลี่ยไม่ควรเกิน 70
  • วัยเด็กโต อายุ 7-17 ปี ค่าความดันตัวบนเฉลี่ยไม่ควรเกิน 120 และค่าความดันตัวล่าง เฉลี่ยไม่ควรเกิน 80
  • วัยทำงาน อายุ 18 ปีขึ้นไป ค่าความดันตัวบนเฉลี่ยไม่ควรเกิน 140 และค่าความดันตัวล่างเฉลี่ยไม่ควรเกิน 90
  • วัยสูงอายุ อายุ 60 ปีขึ้นไป ค่าความดันตัวบนเฉลี่ยไม่ควรเกิน 160 และค่าความดันตัวล่างเฉลี่ยไม่ควรเกิน 90

ปัจจุบันนี้มีผู้ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต ดังนั้นเราจึงมีความจำเป็นจะต้องทราบเกี่ยวกับความดันของตัวเองว่าอยู่ในช่วงเท่าไหร่และไม่ควรเกินเท่าไหร่ เพื่อจะได้รักษาตัวเองได้อย่างทันท่วงที ก่อนจะมีการเจ็บป่วยที่ร้ายแรงเกิดขึ้น

อ้างอิง

thechetter

นักเขียนที่ขยันขันแข็งและมุ่งมั่นที่จะผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพ เรียนรู้และเติบโตอยู่เสมอ เชื่อว่าเนื้อหาที่ดีสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกได้