โปรแกรมรีโมท

4 โปรแกรมรีโมท ที่ใช้งานฟรี ใช้งานดี ยังมีอยู่บนโลก

วันนี้ทางเว็บไซต์ Thechetter.com จะมาแนะนำ “โปรแกรมรีโมท” (โปรแกรมที่สามารถเข้าควบคุมเครื่องจากระยะไกลผ่านระบบอินเตอร์เน็ต) มาให้นักไอทีทุกท่านได้นำไปใช้ตามความถนัดของแต่ละคนเลยครับ สำหรับตัวโปแกรมรีโมทที่นำมาแนะนำในบทความนี้ทั้ง 4 โปรแกรมนั้นจะมีทั้งฟรีและไม่ฟรีโดยทางผู้เขียนจะไล่เรียงไปตามความนิยม ความยากง่ายในการใช้งาน และค่าใช้จ่ายในการใช้งานโปรแกรมรีโมทครับ

1. โปแกรมรีโมท Remote Desktop Connection

โปรแกรมรีโมทตัวนี้เป็นโปรแกรมที่ติดมากับระบบปฏิบัติการวินโดวส์ (Windows) ของทางบริษัทไมโครซอฟต์แทบจะทุกเวอร์ชั่น ข้อดีของมันก็คือ “ฟรี” ครับ และต้องทำ NAT (Network Address Translation) และที่สำคัญต้องทำ Port Forword ด้วย สำหรับความสามารถของตัวโปรแกรมนั้นของค่อนข้างครบถ้วนเลยครับ ใครที่ใช้งานระบบปฏิบัติการวินโดวส์อยู่แล้วและต้องการรีโมทไปยังเครื่องไปทางที่เป็นระบบปฏิบัติการวินโดวส์ด้วยกันแนะนำเลยครับแล้วจะรู้ว่า ของฟรี ของดี ยังมีอยู่ในโลกครับผม

2. โปรแกรมรีโมท Any Desk

ต้องบอกก่อนว่าโปรแกรมรีโมทตัวนี้นิยมใช้กันกันมากเนื่องจากว่าใช้งานได้ง่ายมาก ที่สำคัญสามารถที่จะรีโมทไปที่ไหนก็ได้บนโลกใบนี้ และยังฟรีอีกต่างหาก (แต่เวอร์ชั่นเสียเงินก็ยังมีนะครับ) แต่ขอยืนยันว่าแค่เพียงเวอร์ชั่นฟรีก็สามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพแล้วครับ นอกจากนี้แล้วยังมีความสามารถที่น่าสนใจอย่างการบันทึกวิดีโอซึ่งสามารถตั้งค่าได้ว่าจะให้บันทึกทันที่มีผู้รีโมทเข้ามารึป่าว และความสามารถอีกอย่างคือ การเปิดเครื่องจากระยะไกล (Wake-On-Lan)

3. โปรแกรมรีโมท Team Viewer

อดีตตัวโปรแกรมรีโมทตัวนี้นั้นเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายมากครับ แต่หลังๆ ก็เสื่อมความนิยมเนื่องมีโปรแกรมรีโมทคู่แข่งอย่าง Any Desk เข้ามาทดแทน และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แถมยังดีกว่าในหลายๆ ด้านอีกด้วย แต่หากใครยังคุ้นชินกับโปรแกรมตัวนี้แล้วก็ แนะนำให้ใช้ต่อครับ แต่ผมมีคำแนะนำไว้อย่างหนึ่งว่า โปรแกรมตัวนี้ให้ใช้งานฟรีเพียงแปปเดียวและค่าลิขสิทธิ์แพงมากมาย หากหน่วยงานที่สังกัดนั้นสามารถจ่ายได้ก็ถือเป็นโปรแกรมถือคุ้มค่าโปรแกรมหนึ่งครับ

4. โปรแกรมรีโมท RealVNC

โปรแกรมตัวนี้เป็นโปรแกรมที่ผมเคยใช้ตอนเข้าไปซ่อมบำรุงเครื่องแม่ข่าย (Server) ขอบอกเลยว่าไม่ค่อยถูกใจสักเท่าไหร่นักเนื่องจากข้อกำหนดยุ่งยากหลายประการต้องทำ NAT (Network Address Translation) และที่สำคัญต้องทำ Port Forword ด้วย แถมตอนที่ใช้งานนั้นความเร็วช้ามาก ขอบอกว่าโปรแกรมตัวนี้ไม่โดนอย่างแรงครับผม แต่หากใครชอบก็สามารถต่อได้ยาวๆ เลยนะครับ

thechetter

นักเขียนที่ขยันขันแข็งและมุ่งมั่นที่จะผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพ เรียนรู้และเติบโตอยู่เสมอ เชื่อว่าเนื้อหาที่ดีสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกได้