PEST Analysis

PEST Analysis คืออะไร คู่มือการบริหารที่ผู้นำองค์กร ควรรู้

ความเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยภายนอก ซึ่งไม่สามารถควบคุมได้ เป็นตัวแปรสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อความสำเร็จขององค์กร การบริหารธุรกิจก็เช่นเดียวกันแม้จะมีปัจจัยต่าง ๆ ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญและช่วยให้สามารถควบคุมความเปลี่ยนแปลงได้ แต่ส่วนใหญ่ก็เป็นปัจจัยภายใน แม้ควบคุมการเกิดไม่ได้แต่สามารถระงับ หรือลดความรุนแรงที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจได้ การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกด้วย PEST Analysis จึงเป็นสิ่งที่ผู้นำองค์กร ควรรู้

PEST Analysis คืออะไร

PEST Analysis คือ เครื่องมือวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก ซึ่งเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ โดยไม่สามารถควบคุมได้และยังส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ การวิเคราะห์ PEST Analysis จะทำให้รู้ว่าความเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นมีอะไรที่เป็นโอกาสและอะไรคือปัญหาอุปสรรค

4 ปัจจัยภายนอก การวิเคราะห์ PEST Analysis

ได้แก่ Political การเมือง Economic เศรษฐกิจ Social สังคม Technology เทคโนโลยี ซึ่งเป็นปัจจัยภายนอกที่เกิดขึ้นแล้ว สามารถส่งผลกระทบต่อธุรกิจได้โดยตรง การวิเคราะห์ PESTEL ทำให้องค์กรธุรกิจเห็นภาพรวมของปัจจัยภายนอกที่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดเจน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวางแนวทางหรือกำหนดกลยุทธ์การบริหารเพื่อหลีกเลี่ยงหรือช่วงชิงโอกาสสำหรับพัฒนาต่อยอดธุรกิจ การวิเคราะห์ผลกระทบจากปัจจัยภายนอก ทำได้ดังนี้

1. ปัจจัยด้านการเมือง (Politics)

เป็นการวิเคราะห์สถานการณ์ทางการเมือง รวมถึงนโยบายและวิธีบริหารของรัฐบาลที่อาจส่งผลกระทบโดยรวมต่อธุรกิจหรือส่งผลกระทบต่อการเข้าไปลงทุนในประเทศนั้น ๆ เช่น ระบบการปกครองของประเทศนั้น หรือการปกครองในขณะนั้นเอื้อต่อการลงทุนหรือไม่ นโยบายต่าง ๆ เอื้ออำนวยต่อธุรกิจอย่างเช่นนโยบายของรัฐบาลเป็นโครงการระยะยาวที่ส่งผลดีกับธุรกิจ เสถียรภาพทางการเมืองเป็นอย่างไร มีการประท้วงหรือมีเหตุให้ต้องเปลี่ยนผู้นำบ่อยหรือไม่ รวมทั้งความสามารถของรัฐบาลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาและเติบโตของธุรกิจ ทั้งในเรื่องของการปรับค่าจ้างแรงงาน และแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น

2. ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ (Economics)

ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ (Economics) เช่น ภาวะเศรษฐกิจโลก รายได้ของประชากรในประเทศเฉลี่ยแล้วมีรายได้อยู่ที่ประมาณเท่าไหไร่ หรือปัญหาค่าครองชีพสูงขึ้นจากราคาน้ำมันที่กระทบต้นทุนในทุกอุตสาหกรรม เสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยน อัตราแลกเปลี่ยนผันผวนหรือไม่ และการเติบโตของเศรษฐกิจอยู่ในระดับใด ซึ่งการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกด้านนี้จะทำให้ทราบข้อมูลซึ่งเป็นโอกาสหรืออุปสรรคได้อย่างชัดเจน

3. ปัจจัยด้านสังคม (Social)

การวิเคราะห์ปัจจัยด้านสังคม เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ วิถีการใช้ชีวิต และอุปนิสัยพื้นฐานของคนในสังคมหรือในประเทศนั้น ๆ รวมไปถึง ค่านิยม ทัศนคติ ธรรมเนียม ประเพณี พฤติกรรมการบริโภคและการใช้จ่ายเงินของคนในประเทศหรือในสังคมนั้นเป็นอย่างไร

4. ปัจจัยด้านเทคโนโลยี (Technology)

การวิเคราะห์ปัจจัยด้านเทคโนโลยี เป็นการวิเคราะห์ว่าเทคโนโลยีพร้อมสำหรับการลงทุนหรือไม่ โดยอาจวิเคราะห์ได้จากเทคโนโลยีพื้นฐานที่คนในประเทศนั้นหรือในสังคมนั้นใช้ รวมถึงการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตมีมากน้อยเพียงใด รวมถึงการวิเคราะห์ถึงทิศทางด้านเทคโนโลยีที่อาจจะกระทบต่อวิธีการทำงานของพนักงานหรือกระทบต่อวิธีพัฒนาสินค้าในอนาคต

ความสำคัญของการวิเคราะห์ PEST Analysis

สำหรับการบริหารโดยฉพาะองค์กรธุรกิจมีการแข่งขันด้านการตลาดสูงมาก ผู้บริหารที่มีทักษะความสามารถจะวิเคราะห์ทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวางกรอบและกำหนดกลยุทธ์ให้เหมาะสม ซึ่งส่วนใหญ่หากมีการวิเคราะห์ SWOT มาก่อนจะพบว่าปัจจัยภายในนั้นสามารถควบคุมได้ง่าย เพราะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นภายในองค์การหรืออยู่ภายใต้โครงสร้างการบริหารที่สามารถควบคุมหรือแก้ไขได้ง่าย ซึ่งต่างจากปัจจัยภายนอกเนื่องจากสามารถส่งผลกระทบต่อธุรกิจได้โดยตรง เพราะบางปัจจัยอยู่เหนือการควบคุม

ในทางตรงกันข้ามหากผู้บริหารเลือก PEST Analysis ซึ่งเป็นเครื่องมือวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก ก็จะพบว่าปัจจัยภายนอกถือว่าเป็นโอกาสหรืออุปสรรคสำคัญที่เราต้องนำมารวมอยู่ในกลยุทธ์ เพื่อกำหนดกรอบการบริหารให้สามารถหลีกเลี่ยงปัญหาอุปสรรคหรือนำไปพัฒนาต่อยอดธุรกิจได้

ข้อดีข้อเสียของการวิเคราะห์ PEST Analysis

  • ข้อดีของ PEST Analysis เป็นเครื่องมือที่เรียบง่ายใครก็ทำได้ วิเคราะห์ปัจจัยที่เข้าใจง่ายและยังเหมาะสำหรับการใช้สื่อสารกับคนกลุ่มใหญ่ หรือเหมาะสำหรับการใช้บริหารองค์กรนั้นเอง
  • ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเก็บข้อมูล จากความเรียบง่ายในการใช้เครื่องมือ นอกจากนั้นก็ยังสามารถใช้พลิกแพลงควบคู่ไปกับเครื่องมือวิเคราะห์ธุรกิจอย่างอื่นได้อีกด้วย
  • ทำให้องค์กรรับรู้ถึงความเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจ ทำให้สามารถวางแผนรับมือ หรือนำเอาโอกาสนั้น ๆ มาพัฒนาต่อยอดธุรกิจ
  • ข้อด้อยของ PEST Analysis ก็เหมือนกับเครื่องมืออื่น ๆ ที่สามารถวิเคราะห์และรู้ปัจจัยภายนอกและผลกระทบต่อองค์กรมากแค่ไหน แต่ตราบใดที่เราไม่สามารถนำปัจจัยพวกนี้ไปใช้เป็นกลยุทธ์เป็นแผนการปฏิบัติการได้ การวิเคราะห์ก็จะไม่เกิดประโยชน์

ตัวอย่าง PEST Analysis

ตัวอย่างการวิเคราะห์ PEST Analysis จากผลงานการวิจัยเรื่อง “สภาวะแวดล้อมมหภาคของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ไทยภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0” เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมมหภาคที่มีผลกระทบต่อนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0 สำหรับกลุ่มผู้

ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ พบสภาวแวดล้อมภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงาน มีดังนี้

  1. ปัจจัยด้านนโยบายและการเมืองพบว่า รัฐบาลไทยมีการกำหนดนโยบายเพื่อการขับเคลื่อนอนาคตของประเทศไทย โดยมีเป้าหมายสนันสนุนและยกระดับอุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพในกลุ่ม first S-curve ให้มีศักยภาพเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งรวมอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ผลการวิเคราะห์ในด้านนี้ทำให้รับรู้โอกาสในการพัฒนาอุตสาหกรรมซึ่งมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รองรับอยู่แล้ว
  1. ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ พบว่าอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องและมีความผันผวนมากขึ้น การวิเคราะห์ PESTEL Analysis จึงทำให้เห็นถึงปัญหาอุปสรรคที่ต้องวางแนวทางแก้ไขหรือกำหนดกลยุทธ์มาเป็นกรอบในการดำเนินงาน
  1. ปัจจัยด้านสังคม การวิเคราะห์ PESTEL Analysis พบว่าการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับค่านิยม และการผสมผสานทางวัฒนธรรม จากความทันสมัยของเทคโนโลยี เป็นได้ทั้งอุปสรรคและโอกาส องค์กรที่กำหนดกลยุทธ์ได้เหมาะสม เช่น การสร้างรูปลักษณ์ของตราผลิตภัณฑ์ให้เข้าถึงผู้บริโภค รูปแบบของสินค้าต้องมีการปรับเปลี่ยนอยู่เสมอ เพื่อให้เกิดความทันสมัยและเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมกับยุคปัจจุบัน
  1. ปัจจัยด้านเทคโนโลยี พบว่าแข่งขันด้วยเทคโนโลยี ส่งผลต่ออัตราการจ้างแรงงาน การย้ายฐานการผลิต คุณภาพสินค้าและราคา การวิเคราะห์ทำให้รู้ว่าแรงงานในยุคปัจจุบันควรเพิ่มทักษะความรู้ด้านเทคโนโลยีเพื่อเป็นจุดแข็งขององค์กรให้สามารถสู้กับคู่แข่งด้านการตลาดได้

สรุป การวิเคราะห์ PEST Analysis

นอกจากเป็นการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกทั้ง 4 ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ซึ่งเป็นได้ทั้งโอกาสและอุปสรรค ผลของการวิเคราะห์ยังเป็นการต่อยอดที่สามารถนำข้อมูลมากำหนดกลยุทธ์ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ดังนั้น PEST Analysis ก็คือคู่มือการบริหารที่ผู้นำองค์กร ควรรู้

thechetter

นักเขียนที่ขยันขันแข็งและมุ่งมั่นที่จะผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพ เรียนรู้และเติบโตอยู่เสมอ เชื่อว่าเนื้อหาที่ดีสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกได้